วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  28 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  15  เวลาเรียน 13.00 น. เวลาเข้าสอน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40น



knowledge





จากนั้นอาจารย์ให้ออกแบบการ์ดที่ให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับ หน่วยของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เรื่องหน่วยกบ

 

กลุ่มที่่ 2 หน่วยผีเสื้อ


กลุ่มที่ 3 หน่วยเรื่องส้ม


กลุ่มที่ 4 หน่วยเรื่อง กะหล่ำปลี


กลุ่มที่ 5 หน่วยเรื่องดอกมะลิ


กลุ่มที่ 6 หน่วยเรื่อง กล้วย


กลุ่มที่ 7 หน่วยเรื่องแปรงสีฟัน


กลุมที่ 8 หน่วยเรื่องไก่

 



Applications

1.ได้เทคนิคแนวทางการทำแผ่นพับและการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการอ่านและใกล้ชิดในการดูแลเด็กจากโรงเรียนและครอบครัว

2. ได้รู้จักการใช้คำถามที่ถามเเช่นการใช้คำถามการสังเกต ลักษณะของกบเป็นอย่างไร 

Evaluation

self : วันนี้ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังเพื่อนนพเนอบทความแต่เรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนอซ้ำอาจารย์เลยให้ไปหามาใหม่ และตั้งใจทำแผ่นพับและคิดการจัดกิจกรรมให้กับเด็กเช่นเกมท่หลากหลายให้เด็กและผู้ปกครองทำด้วยกัน

Friend : เพื่อนตั้งใจเรียนตั้งใจทำงานและเข้าเรียนตรงเวลาและร่วมกันทำกิจกรรมช่วยกันคิดที่จะจัดกิจกรรมให้กับผู้ปกครอง
Teacher : วันนี้อาจารย์สอนไม่ค่อยเครียดนัก สบายๆ และอาจารย์แนะนำแนวข้อสอบว่าออกตรงไหนบ้างรูปแบบใดให้ไปอ่านมา เช่น กรอบมาตรฐาน ทักษะวิทยาศาสตร์ การใช้คำถาม และแผนการสอน ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป และรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจบล็อก







สรุปวิจัย




      วิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ผู้วิจัย: ณัฐชุดา สาครเจริญ

   จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
2. เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทักษะวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้

ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง
 -นักเรียนชายหญิงที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการสุ่มกลุ่มจับฉลาก 1 ห้องเรียน จาก 6 ห้องเรียน

ระยะในการทดลอง
-ทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา
-ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
-ตัวแปรตาม ได้แก่  การสังเกต การจำแนก การวัด การมิติสัมพันธ์ การสื่อสาร การลงความเห็น

นิยามศัพท์
1. เด็กปฐมวัย หมายถึงเด็กนักเรียนชายหญิงที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปีกำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2
2. การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ขั้นพื้นฐานหมายถึง ระดับการเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียนรู้เด็กปฐมวัยทั้ง6ด้าน
    การสังเกต  หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสามทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
    การจำแนก หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของการใช้เกณฑ์ที่ใช้ได้แก่ ความเหมือน ความต่าง
    การวัด  หมายถึง ความสามารถในการประมาณสิ่งของต่างๆ
    การหามิติสัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆ ได้แก่ขนาด รูปร่าง รูปทรง 
    การสื่อสาร  หมายถึง ความสามารถในการบอก อธิบาย
    การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า
3. รูปแบบกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ หมายถึง กืจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ศิลปสร้างสรรค์สื่อของการสร้างสาระหรือสิ่งที่เรียนรู้

เครื่องมือในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมรูปแบบกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ 
2. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย


การดำเนินกิจกรรม
1. ขั้นกระตุ้นการเรียนรู้ เป็นขั้นการจัดกิจกรรมจูงใจให้เด็กสนใจเรียนรู้สาระที่ต้องการ
2. ขั้นกรองสู่มโนทัศน์ เป็นขั้นกระตุ้นให้เด็กคิด เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในสาระ
3. ขั้นนำสู่งานศิลปะ เป็นขั้นของการนำความรุ้ความเข้าใจ
4. ขั้นสรุปสาระที่เรียน เป็นขั้นสุดท้ายที่เด็กจะเรียนรู้และสรุปสิ่งที่เรียนตามจุดประสงค์ของการสอน

สรุปผลการวิจัย
 1. พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้โดยภาะรวมจำแนกอยู่ในระดับดี
 2. พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้สูงขึ้นกว่าก่อนและจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01.

ข้อเสนอแนะ
- ควรมีการศึกษาและวิจัยผลการใช้รูปแบบศิลปสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความรู้ในระยะยาวเพื่อติดตามการทดลองที่ส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย
- ควรมีการศึกษาผลของการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในเชิงจิตวิทยา เช่น พัฒนาความเชื่อมั่นของเด็กปฐมวัย




สรุปโทรทัศน์ครู

   


      โทรทัศน์ครู เรื่องอนุบาล 3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุก ๆ (ฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์)


    จากการดูวิดีโอเด็กๆเรียนรู้เรื่องวงจรไฟฟ้าเรียนเกี่ยวกับสายไฟ หลอดไฟ และครูจะใช้คำถาม ถามเด็กว่า สายไฟมีกี่สี เด็กจะตอบว่ามี 2 สี และมีทั้งขั้วบวกและขั้วลบ ส่วนแว่นตาขยายครูจะให้เด็กๆได้จับดูและสัมผัส ส่องดูสิ่งของต่างๆ เกี่ยวกับตามฐานการเรียนรู้ เช่นฐานหมุดลอยน้ำ ครูจะแจกที่หนีบกระดาษให้เด็กๆได้สัมผัสของจริงแล้วใช้คำถาม ถามเด็กว่าลอยหรือจมน้ำเมื่อเด็กได้ลองทำแล้วเด็กก็จะตอบได้ว่าจมหรือลอยโดยครูจะให้เด็กๆได้ลงมือทำทุกคนให้เด็กได้ฝึกการสังเกต และฐานงูเต้นระบำครูให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเองโดยครูจะคอยถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อฝึกประสาทสัมผัสให้เด็กได้เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ส่วนฐานน้ำ ทราย น้ำมัน ฐานนี้เป็นการแยกส่วนของสิ่งที่เบากับสิ่งที่หนักวัตถุที่หนักเบา เช่นทราย ก้อนหิน ลักษณะเป็นอย่างไร ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานพลิดเพลินอยากเรียนรู้ไปกับเพื่อนๆ

เทคนิคการสอนของครู  คือครูมีเทคนิคการสอนที่ดีมาก ครูจะใช้คำถามเพื่อกระตุ้นเด็กและถามความรู้ประสบการณ์เดิมของเด็กในการเรียนรู้ที่ผ่านมาให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติเองและจำในสิ่งที่เขาเรียนรู้มาครั้งที่แล้วและครูจะคอยอยู่ข้างๆเวลาเด็กทำกิจกรรม







วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  21 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  14   เวลาเรียน 13.00 น. เวลาเข้าสอน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40น


Knowledge

-วันนี้อาจารย์ให้เอาของเล่นวิทยาศาสตร์มาส่งและถามวิทยาศาสตร์อย่างไร มีทั้ง พลังงานจลน์ พลังงานศักย์  จุดศูนย์กลาง

แรงลม
แรงเสียดทาน ,ตัวศูนย์กลาง



   จากนั้นอาจารย์ให้นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู
   วิจัย
   1. การจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2
   2.  การพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาล 2
   3.  เรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการ            วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
   4.  การพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร  
 5.  ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  โทรทัศน์ครู
   1.  ส่องนกในโรงเรียน
   2.  สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
   3. จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย


จากนั้นทำCooKingวาฟเฟิล


 อาจารย์แนะนำอุปกรณ์ในการทำและวิธีการทำ

อุปกรณ์

 อุปกรณ์ในการทำวาฟเฟิล

 วาฟเฟิล



Applications

  1. สามารถนำสื่อที่เพื่อนเอามาส่งนำไปต่อยอดให้มีจินตนาการมากขึ้น
  2. สามารถนำเทคนิคการสอนจากวิจัยไปปรับใช้ในการสอบสอน
  3. สามารถนำการทำวาฟเฟิลไปสอนเด็กได้ด้วยการใช้เทคนิคที่เด็กเข้าใจ

Evaluation

One:วันนี้ตังใจฟังเพื่อนๆนำเสอนของเล่นวิทยาศาสตร์และตั้งใจทำกิจกรรมในการทำวาฟเฟิลเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับเด็กในการประกอบอาหาร

Friend : วันนี้เพื่อนบางคนก็ไม่ได้เอาของเล่นมา ทำให้สื่อสารกันไม่เข้าหรือเพื่อนลืมทำให้อาจารย์ให้โอกาสให้เอามาส่งวันจันทร์หน้าและเพื่อนตั้งใจเตรียมอุปกรณืมาทำกิจกรรมประกอบอาหารการทำวาฟเฟิล

Teacher : วันนี้อาจารย์แนะนำการวาฟเฟิลและวิธีการทำได้ละเอียดมากค่ะ และค่อยดูเพื่อนๆทำกิจกรรมอยู่ห่างๆคอยแนะนำควรใส่อะไรก่อนหลัง





เรียนครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  14  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  13  เวลาเรียน 13.00 น. เวลาเข้าสอน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40น



Group 7
         เรื่องแปรงฟัน






ขั้นนำ : ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจอง
          แปรงสีฟันมีหลายชนิด    แต่ละขนิดมีดีต่างกัน
          แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น         รวดเร็วพลันใช้ได้อย่างดี
          แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี         สะอาดดีเมื่อเราแปรงฟัน
ครูท่องให้ฟัง 1 รอบแล้วเด็กท่องตามแล้วท่องพร้อมกัน

ขั้นสอน : ครูใช้คำถวามกระตุ้นเด็กว่า ในคำคล้องจองมีแปรงสีฟันอะไรบ้าง  และเด็กๆรุู้จักแปรงสีฟันอะไรนอกเหนือนี้บ้าง 
 ขั้นสรุป :  ครูและเด็กร่วมกันทวบทวนคำคล้องจองและเนื้อหาของแปรงสีฟัน
      

Group 8
         เรื่องผีเสื้อ



ขั้นนำ : ครูสวัสดีเด็กด้วยเพลงสวัสดี
            สวัสดีแบบไทยๆ แล้วก็ไปแบบสากล สวัสดีทุกๆคน แบบสากลแล้วก็แบบไทย

ขั้นสอน : ครูถามเด็กว่า ในคำคล้องจองมีอะไรบ้าง และก็สอนเนื้อหาของผีเสื้อโดยน้ำมาเปรียบเทียบกัน2 ชนิดว่ามีลักษณะ สี รูปร่างต่างกันอย่างไร โดยครูจะบันทึกเป็นวงกลมการเปรียบเทียบ สิ่งใดเหมือนไม่เหมือน
ขั้นสรุป: ครูและเด็กร่วมกันทบทวนเพลงและเนื้อหาของผี้เสื้อ

Group 9  
เรื่องกล้วย
         



ขั้นนำ : ครูท่องคำคล้องจอง เรื่องกล้วย
ขั้นสอน : ครูนำรูปภาพกล้วยแต่ละชนิดมาให้เด็กดู และถามเด้กว่าเป็นกล้วยชนิดไหน มีกล้วยอะไรบ้างนอกเหนือกว่านี้ โดยครูจะเขียน Mindmap  และจดบันทึกที่เด็กตอบและตั้งเกณฑ์กล้วยที่ไม่ใช่กล้วยหอม 
ขั้นสรุป : ครูและเด็กร่วมกันทบทวนคำคล้องจองและเนื้อหาเรื่องกล้วย





จากนั้นทำ Cooking



 อาจารย์แนะนำอุปกรณ์และสาธิตการทำ



อุปกรณ์ในการทำ

เครื่อง



ทาโกยากิ


จากนั้นอาจารย์ให้นำเสนอวิจัยเพื่อนที่ยังไม่รายงาน

1.เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
2.เรื่องผลต่อการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่มีผลต่อวิทยาศาสตร์สหรับเด็กปฐมวัย2540ใช้การสังเกตความสามารถในการรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
3.ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน



Applications

    1.  สามารถนำนำหน่วยที่เพื่อนสอบไปใช้สอนกับเด็กด้วยสิ่งรอบตัวของเด็ก
    2.  สามารถนำเทคนิคการสอนจากวิจัยไปปรับใช้ในการสอบสอน
    3.  สามารถนำการทำทาโกยาก็ิได้ด้วยการใช้เทคนิคที่เด็กเข้าใจและงายต่อการเรียน

Evaluation

One:วันนี้ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอการสอบสอน และการประกอบอาหารการทำทาโกยากิ

Friend : เพื่อนสนใจการทำทาโกยากิมากค่ะ พูดกันเสียงดัง


Teacher : นำเทคนิคที่อาจารย์แนะนำและการสอนไปใช้ในการบรูณาการให้เข้ากับวิชาอื่นๆได้ค่ะและเก็บคำแนะนำวิธีการของอาจารย์บอกไปปรับปรุงและนำมาใช้เพื่อในการเรียนการสอน






เรียนครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  6 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  12  เวลาเรียน 13.00 น. เวลาเข้าสอน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40

Knowledge

-วันนี้สอบสอนของแต่ละกลุ่มในหน่วยเรื่อง กบ ดอกมะลิ แปรงฟัน ปลา กะหล่ำปี ส้ม ไก่

Group 1
      เรื่องกบ





ขั้นนำ :  ครูถามเรืองราวเกี่ยวกับเด็ก
ขั้นสอน : 1. ร้องเพลงกบ
กบ กบ กบ กบมันมีสีขา ขาหลังกระโดดขึ้นมามันแลบลิ้นแพรบๆ
                 2. ครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็ก เด็กคิดว่าในเนื้อเพลงมีอะไรบ้าง และนอกเหนือจากเนื้อเพลงเด็กรู้อะไรเกี่ยวกับกบบ้าง
ขั้นสรุป : ครูและเด็กร่วมกันทบทวนเพลงกบและทบทวนในเนื้อหา



Group 2
     เรื่องกะหล่ำปี





ขั้นนำ :  ครูให้เด็กปรบมือเพื่อเรียกสมาธิของเด็ก
ขั้นสอน: ครูร้องเพลงกะหล่ำปีและเล่านิทานเรื่องคนสวยขายกะหล่ำปี
ขั้นสรุป : ครูทบทวนเพลงและเนื้อหาในนิทาน


Group 3
        เรื่องส้ม




ขั้นนำ : ครูใช้เพลงแพะ แกะ
ตบมือเปาะแปะ เรียกแพะเข้ามาแพะไม่มาปิดประตูรูดซิบ
ขั้นสอน: ครูให้เด็กดูภาพและใช้คำถามกระตุ้นในเนื้อหาประโยชน์และข้อพึงระวังเรื่องส้ม
ขั้นสรุป : ครูและเด็กร่วมกันทบทวนเพลงอีกรอบและเนื้อหาประโยชน์และข้อพึงระวังเรื่องส้ม


Group 4
      เรื่องดอกมะลิ การทำCooking


สาธิตการสอน

ทอดดอกมะลิ

ขั้นนำ :ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจอง  ประโยชน์ดอกมะลิ
ขั้นสอน : ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และวิธีการทำดอกมะลิชุบแป้งทอดและลงมือทำครูจะเป็นคนสาธิตและดูแลให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำดอกมะลิชุบแป้งทอด
ขั้นสรุป : ครูและเด็กร่วมกันอภิปรายผลการทำดอกมะลิชุบแป้งทอดและทบทวนคำคล้องจอง



Group 5
           เรื่องไก่





ขั้นนำ : ครูท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับไก่
กอไก่กุ๊กกุ๊ก   เข้าอยู่ทุ่งนา
สายอยู่ทุ่งหญ้า   เย็นพาเข้าซุ้ม
เดินย่องยุ่มๆ     ทั้งเขี่ยอาหาร
รวมทั้งพืชผัก   ข้าวเปลือกข้าวสาร
ที่เป็นอาหาร       ทั้งหนอนไส้เดือน
แล้วทุกหกเดือน   ต้องฉีดวัคซีน
เพื่อป้องกันโรค   ให้ไก่แข็งแรง
ขั้นสอน : ครูใช้คำถามถ้วนประสบการณ์เดิมของเด็กและเนื้อหาของไก่
ขั้นสรุป : ครูทบทวนคำคล้องจองและทบทวนเนื้อหาของไก่

Group 6
           เรื่องปลา


การสาธิต

 ปลาทู

ขั้นนำ : ครูท่องคำคล้องจองปลาทู
ขั้นสอน : คุณครูบอกส่วนประกอบและอุปกรณ์ในการทำให้เด็กดูและสาธิตทอดปลาทู
ขั้นสรุป  : ครูทบทวนคำคล้องจองและเนื้อหาการประกอบอาหารด้วยการทอดปลาทู



Applications

 1. สามารถนำการสอบสอนของแต่ละเรื่องหน่วยของเพื่อนไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตเวลาออกไปฝึกสอน
 2. สามารถนำขั้นนำขั้นสอนขั้นสรุปไปปรับประยุกต์ใช้ในแผนการสอนของเราได้   
 3. สามารถนำการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ไปบูรณาการในวิชาต่างๆได้

Evaluation

One:วันนี้ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมในการสอบสอนค่ะและช่วยเพื่อนเตรียมอุปกรณ์มาทำดอกมะลิชุบแป้งทอดและจากนั้นตั้งใจดูการสอบสอนของเพื่อนกลุ่มต่อไป

Friend :วันนี้เพื่อนสอบสอนได้น่าสนใจและมีชื่อเรื่องที่หลากหลายและมีการสอนที่หลายรูปแบบ สนุกสนานในการทำกิจกรรม

Teacher:อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ละเอียดชัดเจนทำให้เพื่อนที่ออกมาสอบสอนได้ประสบการณ์ในการสอนและมีขั้นตอนในการบอกและสอดแทรกเนื้อหาและมีคำถามในการกระตุ้นเด็กว่าจะต้องถามเด็กอย่างไร