วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย




      วิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ผู้วิจัย: ณัฐชุดา สาครเจริญ

   จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
2. เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทักษะวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้

ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง
 -นักเรียนชายหญิงที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการสุ่มกลุ่มจับฉลาก 1 ห้องเรียน จาก 6 ห้องเรียน

ระยะในการทดลอง
-ทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา
-ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
-ตัวแปรตาม ได้แก่  การสังเกต การจำแนก การวัด การมิติสัมพันธ์ การสื่อสาร การลงความเห็น

นิยามศัพท์
1. เด็กปฐมวัย หมายถึงเด็กนักเรียนชายหญิงที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปีกำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2
2. การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ขั้นพื้นฐานหมายถึง ระดับการเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียนรู้เด็กปฐมวัยทั้ง6ด้าน
    การสังเกต  หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสามทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
    การจำแนก หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของการใช้เกณฑ์ที่ใช้ได้แก่ ความเหมือน ความต่าง
    การวัด  หมายถึง ความสามารถในการประมาณสิ่งของต่างๆ
    การหามิติสัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆ ได้แก่ขนาด รูปร่าง รูปทรง 
    การสื่อสาร  หมายถึง ความสามารถในการบอก อธิบาย
    การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า
3. รูปแบบกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ หมายถึง กืจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ศิลปสร้างสรรค์สื่อของการสร้างสาระหรือสิ่งที่เรียนรู้

เครื่องมือในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมรูปแบบกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ 
2. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย


การดำเนินกิจกรรม
1. ขั้นกระตุ้นการเรียนรู้ เป็นขั้นการจัดกิจกรรมจูงใจให้เด็กสนใจเรียนรู้สาระที่ต้องการ
2. ขั้นกรองสู่มโนทัศน์ เป็นขั้นกระตุ้นให้เด็กคิด เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในสาระ
3. ขั้นนำสู่งานศิลปะ เป็นขั้นของการนำความรุ้ความเข้าใจ
4. ขั้นสรุปสาระที่เรียน เป็นขั้นสุดท้ายที่เด็กจะเรียนรู้และสรุปสิ่งที่เรียนตามจุดประสงค์ของการสอน

สรุปผลการวิจัย
 1. พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้โดยภาะรวมจำแนกอยู่ในระดับดี
 2. พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้สูงขึ้นกว่าก่อนและจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01.

ข้อเสนอแนะ
- ควรมีการศึกษาและวิจัยผลการใช้รูปแบบศิลปสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความรู้ในระยะยาวเพื่อติดตามการทดลองที่ส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย
- ควรมีการศึกษาผลของการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในเชิงจิตวิทยา เช่น พัฒนาความเชื่อมั่นของเด็กปฐมวัย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น